เมนู

มโนรถปูรณี


อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต


นิสสายวรรคที่ 1


เอกาทสกนิบาต

กิมัตถิยสูตรที่ 1 (ข้อ 203) เป็นต้น มีนัยที่กล่าว
ไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. จริงอยู่ในเอกาทสกนิบาต 5 สูตรข้างต้น ท่าน
กล่าวองค์ 11 แยกนิพพิทาและวิราคะออกเป็นสอง.
จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรเป็นต้น

6. พยสนสูตร


ว่าด้วยความฉิบหาย 11 อย่าง


[213] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่
พึงถึงความฉิบหาย 11 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความฉิบหาย 11 อย่าง
เป็นไฉน คือไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ 1 เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว 1
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว 1 เป็นผู้เข้าใจว่าได้บรรลุในสัท-
ธรรม 1 เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ 1 ต้องอาบัติเศร้าหมอง
อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว 1 ถูกต้อง
โรคอย่างหนัก 1 ย่อมถึงความเป็นบ้า คือความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1 เป็น
ผู้หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียน

พระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความ
ฉินหาย 11 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้.
จบพยสนสูตรที่ 6

อรรถกถาพยสนสูตรที่ 6


พยสนสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบอกคืนสิกขาบทพึงทราบว่าเกิน.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ 6

7. สัญญาสูตร


ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่าง ๆ กัน


[214] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
อาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุว่าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่า
เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสา-
นัญจายตะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญานัญจายตนะว่าเป็น
วิญญานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่า
เป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานา-
สัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ